วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การระบายสีน้ำ


 การระบายสีน้ำ
   ปัจจุบันเรานิยมเขียนภาพสีน้ำกันอย่างแพร่หลาย ความนิยมในการเขียนภาพสีน้ำเพราะความงดงามของสีน้ำที่แสดงให้เห็นถึง มิติของสี ความซับซ้อนของพื้นภาพ และประกายแสง ลักษณะพิเศษเหล่านี้ เกิดจากการระบายที่ประณีตซับซ้อน นอกจากนั้นแล้ว สีน้ำยังมีเสน่ห์ ในการนำออกไประบายยังสถานที่ี่ ต่างๆ เราเพียงแต่มีกล่องใส่สีน้ำหรืออาจจะใช้สีน้ำช่วยระบายเป็นภาพร่างสำหรับการเขียนภาพสีน้ำมัน หรือสีอะครีลิค อัลเบรชท์ ดูเรอร์ เป็นศิลปินคนแรกที่ใช้สีน้ำเป็นสื่อในการแสดงออกเพื่อเขียนภาพสัตว์์ และ ภาพภูมิทัศน์ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19  เทอร์เนอร์ เป็นศิลปิน คนแรกในการระบายสีน้ำตามแนวทางศิลปะสมัยใหม่
   ปีคริสต์ศักราช 1832 นักเคมีและจิตรกร วิลเลียม วินเซอร์  และ เฮนรี นิวตัน ได้เริ่มต้นธุรกิจ สิ่งที่ทั้ง สองประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ คือ สีน้ำ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน คือ สีน้ำบรรจุกล่อง แล้วจึงตามมาด้วย สีน้ำชนิดบรรจุหลอดโลหะในปี ค.ศ.1841
    คำแนะนำต่อไปนี้  ได้เตรียมข้อมูลที่หลากหลายสำหรับการระบายสีน้ำ  เป็นพื้นฐานการทำงานที่ดี สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษา(มือใหม่) สำหรับมืออาชีพ ก็มีคู่มือวัสดุอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์์งานศิลปะด้วยเช่นกัน

 

คุณสมบัติของสีน้ำ
การขึงกระดาษ
   การขึงกระดาษสีน้ำ เป็นการรักษาสภาพความราบเรียบของพื้นภาพ เมื่อระบายสีน้ำให้เปียกชื้นมาก ควรขึงกระดาษทุกน้ำหนัก เมื่อขึงแล้วก็สามารถจะระบายให้เปียกชุ่มอย่างไรก็ได้ การขึงกระดาษจะต้องทำให้กระดาษเปียกชื้นเสียก่อน เพื่อขยายเส้นใยของกระดาษ หลังจากนั้นจึงติดกระดาษให้รอบด้าน มีหลักในการทำดังนี้
•  จุ่มกระดาษให้เปียกทั่วถึงกระดาษ 90 ปอนด์แช่น้ำ 3 นาที 14 ปอนด์ 8 นาที และ 300 ปอนด์ 20 นาที (โดยประมาณ)
•  ซับน้ำให้หมาดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้วยกระดาษบรู๊ฟ
•  ถ้าใช้แผ่นรองเขียนเป็นไม้อัด ควรทาแลคเกอร์เคลือบเสียก่อน หรืออาจใช้กระดาษบรู๊ฟสะอาดรองพื้น
•  ใช้กระดาษกาวชนิดทาน้ำ ( ไม่ใช่เทปย่น ) ผนึกติดทุกด้าน โดยเริ่มต้นทีละด้าน
•  วางแผ่นรองบนพื้นราบและปล่อยไว้ให้แห้งด้วยลม ไม่ควรนำไปตากแดด
กระดาษสีน้ำชนิดผนึกเป็นปึก (เล่ม)
   กระดาษสีน้ำชนิดผนึกเป็นปึก เป็นกระดาษสีน้ำที่ผนึกรวมอยู่ด้วยกันโดยการทากาวติดไว้ที่ด้านข้างเว้นไว้เพียงเล็กน้อยด้านใดด้านหนึ่ง สำหรับใช้เกรียงระบายสีสอดเข้าไปเพื่อแยกกระดาษออกจากปึกกระดาษลักษณะนี้เหมาะสำหรับการนำออกไปเขียนข้างนอก โดยไม่ต้องขึงกระดาษ ไม่ต้องหอบแผ่นรองที่มีน้ำหนักมากออกไป และไม่ต้องกังวลเมื่อข้างนอกมีลมพัดแรง

 
สือผสมสีของสีน้ำ
สีน้ำมีคุณสมบัติแห้งเร็ว
   สีน้ำเมื่อเทียบกับสีชนิดอื่นๆ เช่น สีน้ำมัน ความยากง่ายในการระบายจะต่างกัน ผลเพราะสีน้ำจะแห้ง เร็วกว่าสีน้ำมัน การควบคุมจึงค่อนข้างจะยากกว่าพอสมควร แต่ก็ไม่เสมอไป บางครั้งก็อยู่ที่การฝึกฝน และ ทำความเข้าใจด้วยตัวเอง
สีน้ำมีคุณสมบัติรุกรานและยอมรับ ( ADVANCE, DECENT )
   ผลมาจากที่เนื้อสี และสารเคมีที่ผสมต่างชนิดกัน ซึ่งคุณสมบัตินี้ค่อนข้างจำเป็น (พอประมาณ) ใน
การเขียนสีน้ำ และควรจะศึกษา ทดลองด้วยตัวเอง ว่าสีใดรุก หรือสีใดยอม หรือสีใดอยู่เฉย
สื่อผสมสีสำหรับภาพเขียนสีน้ำ
   สื่อผสมสี ( Mediums ) ช่วยให้สามารถสร้างสรรค์ภาพเขียนสีน้ำได้อย่างหลากหลายสวยงาม
กาวอาระบิค
   ผสมกาวอะราบิค ในสีน้ำจะช่วยให้เกิดลักษณะพิเศษดังนี้ เพิ่มความโปร่งใส และเป็นมันสีสันสดสวย ลดสีที่ติดฝังแน่นและช่วยให้การซับสีง่ายขึ้น
อ็อกซ์กาลล์
   การใช้อ็อกซ์กาลล์ (Ox gall ) 2-3 หยดในน้ำผสมสีจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและการซึมซาบของสี เมื่อ
ระบายบนพื้นกระดาษที่ไม่ดูดซึมนักสำหรับกระดาษที่ดูดซับสีได้ดี อาจช่วยเพิ่มลักษณะสีให้ติดกระดาษในบางสี อะคัวแพสโต
   อะคัวแพสโต(Aquapasto) เป็นสื่อผสมลักษณะเป็นวุ้นเหลวบรรจุหลอดส่วนผสมประมาณ 50% ช่วย
ให้สามารถสร้างพื้นผิวสีน้ำได้ดีสามารถขูดออกหรือเพิ่มความหนาได้ดี แห้งช้าไม่ค่อยซึมซาบเข้าหากัน ใช้ได้ดีสำหรับการระบายเกลี่ยเรียบหลายๆชั้น ระบายแล้วระบายอีก คุณสมบัติที่ไม่ค่อยซึมซับเข้าหากัน ทำให้สีระบายด้วยกันแยกกันอยู่ ใช้ระบายสีเมฆและท้องฟ้าได้ดีมาก มาสกิงฟลูอิด
   มาสกิงฟลูอิด (Masking fluid) ช่วยปิดกั้นพื้นที่บางพื้นที่เมื่อระบายสีน้ำลงบนพื้นที่แคบๆ หรือกว้างๆ มีวิธีการใช้งานดังต่อไปนี้ ซึ่งจะช่วยทำให้การใช้มาสกิงฟลูอิดได้ผลที่ดียิ่งขึ้น 1.เขย่าขวดก่อนเปิดใช้ทุกๆ ครั้ง และอย่าใช้ทาลงบนกระดาษเปียกหรือชื้น หากใช้บนกระดาษชนิดที่    ฉาบผิวด้วยเยลาติน จะช่วยกันน้ำได้ดียิ่งขึ้น

2.ใช้พู่กันเก่าๆ ที่ใช้งานได้ไม่ดีแล้วระบายลงบนส่วนที่ต้องการ เมื่อเลิกใช้แล้วให้ใช้น้ำ้สบู่ล้างพู่กัน ทิ้ง ไว้ให้แห้งสนิทก่อนที่จะระบายสีทับ (อย่าทิ้งไว้ให้แห้งมากจนเกินไป)
หมายเหตุ
     :   ใช้มาสกิงฟลูอิดชนิดไม่มีสีเพื่อหลีกเลี่ยงสีติดกระดาษ
     :   ถ้าบังเอิญกระเด็นติดโดยไม่ตั้งใจ ให้ปล่อยไว้ให้แห้งแล้็วจึงลอกออก หากติดเสื้อผ้าให้ล้างด้วยน้ำสบู่ในขณะที่ยังไม่แห้ง และยังไม่มีน้ำยาสำหรับใช้ล้างโดยเฉพาะ

 

 การควบคุมปริมาณสีน้ำและกติกาในการระบาย
          สิ่งสำคัญที่ผู้สนใจระบายสีน้ำจะต้องฝึกฝนการสังเกตก็คือ ปริมาณสีน้ำที่ใช้ระบายบนกระดาษ เพราะหากสีน้ำที่ระบายมีปริมาณมากเกินกว่าพื้นที่ระบาย จะสร้างปัญหาเมื่อระบายสีอื่น เพราะสีที่ระบายทีหลังจะถูกสีที่ระบายทีแรกผสมจนหมดความเข้มของสีนั้น ดังนั้นการกะปริมาณสีในพู่กันก่อนระบายจึงมีความสำคัญยิ่ง
           อนึ่ง เนื่องจากสีน้ำไหลไปมาตามระดับลาดเอียงของกระดาษบนกระดานรองเขียน ดังนั้นผู้สนใจระบายสีน้ำจะต้องกำหนดความลาดชันของระนาบกระดาษที่จะระบาย ให้ทำมุมกับพื้นไม่ควรเกิน 45( เพราะจะทำให้น้ำไหลบนกระดาษเร็วเกินไป ควรกำหนดความลาดประมาณ 20( -30( ทั้งนี้จะต้องสังเกตด้วยตนเอง เพื่อปรับให้เหมาะสมกับความฉับไวในการระบาย





1 ความคิดเห็น: